๕ ธรรมะสอนใจหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ

คิดดี ใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำ ดีกว่า

ญาติโยมพุทธบริษัททังหลาย
ณ บัดนี้ ถึงเวลาของการฟังปาฐกถาธรรมะ อันเป็นหลักคำสอนในทางพระพุทธศาสนาแล้ว ขอให้ทุกท่านอยู่ในอาการสงบ ตั้งอกตั้งใจฟังด้วยดี เพื่อให้ได้ประโยชน์อันเกิดขึ้นจากการฟัง ตามสมควรแก่เวลา
ถ้าสอนพระก็พูดเรื่อง ศีล ปัญญา สมาธิ อันเป็นข้อปฏิบัติตามลำดับที่เราปฏิบัติ แล้วจะได้ถึงซึ่งพระพุทธเจ้าที่เป็นธรรมะอันจะเป็นเหตุให้เกิดความสงบทางใจ ไม่มีความทุกข์ความเดือดร้อนประจำวันต่อไป เราทั้งหลายจึงควรจะได้เดินตามเส้นทางที่พระผู้มีพระภาคเจ้าชี้ไว้ให้เราเดิน เดินตามรอยพระพุทธเจ้า

เดินตามรอยพระพุทธบาท : ตามธรรมะ

รอยพระพุทธบาทที่แท้ก็คือรอยธรรมะนั่นเอง ไม่ใช่รอยหินที่เราไปไหว้กันทุกปี เวลามีงานที่สระบุรี รอยนั้นเป็นรอยภายนอกไม่ใช่รอยภายใน เป็นรอยที่เราสัมผัสด้วยตาเนื้อ ไม่ใช่รองรอยที่สัมผัสด้วยตาใจ รอยแท้จริงของพระพุทธองค์นั้นอยู่ที่ข้อปฏิบัติ ซึ่งเราเรียกกันว่า พระธรรม นั้นเอง

พระธรรมเป็นรอยที่พระองค์ชี้ไว้ให้เราเดิน ถ้าเราเดินไปตามร้อยั้นเราก็จะพบพระพุทธเจ้า ถ้าเดินผิดทาง…..เราก็ไม่พบกับพระพุทธเจ้า ถ้าเดินถูกทาง ก็จะพบองค์พุทธะ อันเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เพราะฉะนั้นเมื่อเราจะลงมือเดินก็ต้องศึกษาทางที่เราจะเดินเสียก่อน เพื่อจะได้เดินถูกทาง ไม่ใช่เดินแบบสุ่มสี่สุ่มห้า เสียเวลาไปตั้งเยอะแล้วจึงจะได้เข้าทาง บางที่เดินไปจนแก่จึงได้เข้าทางถูก อย่างนี้ก็นับว่าเสียดายชีวิต

 

สงบ สะอาด สว่างในใจ คือ องค์พุทธะที่แท้

ถ้าเราได้ศึกษาตั้งแต่เบื้องต้น ให้เข้าใจทางเดินอย่างชัดเจน ถูกต้อง เราลงมือเดินก้เข้าเส้นทางได้เลย แล้วเดินไปตามเส้นทางนั้นไม่หยุดยั้ง เราก็จะถึงจุด คือพบองค์พระพุทธเจ้า

ที่เรียกว่า องค์พระพุทธเจ้า นั้นก็คือ พบกับความสงบ ความสะอาด ความสว่างในใจ เมื่อของเราสงบ ไม่วุ่นวาย ใจของเราสะอาดและปราศจากสิ่งเศร้าหมอง ใจของเราก็สว่าง ไม่มีความมือบอด ก็เรียกว่า เราเข้าถึงจุดที่เราต้องการ

ผู้มีจิตสะอาด สว่าง สงบ รู้ชัดสภาพที่เป็นจริง

ผู้ที่มีจิตสะอาด สว่าง สงบนั้น ย่อมรู้ชัดอะไรๆตามสภาพที่เป็นจริง ไม่หลงไม่งมงายในเรื่องอะไรต่างๆ ถ้าจิตเรายังไม่ถึงจุดนั้นก็อาจจะยังหลงอยู่บ้าง อาจะประพฤติปฏิบัติอะไรในทางที่อยู่บ้าง มีอยู่ไม่ใช่น้อยที่มีความเรียกตัวเองว่า พุทธบริษัท แต่ว่านั่งอยู่ห่างไกลจากพระพุทธเจ้า เป็นบริษัทที่นั่งสุดกู่ก็ว่าได้ ไม่ขยับตัวเขาไปใกล้พระพุทธเจ้าเสียเลย ชอบนั่งอยู่ห่างๆอย่างสุดกู่ ตะโกนก็ไม่ได้ยิน

พุทธบริษัทที่อยู่สุดเสียกู่พระพุทธเจ้านั้น ก็คือคนที่เป็นพุทธบริษัทแต่เพียงชื่อ จิตใจไม่ได้เข้าถึงธรรมะ การปฏิบัติของเขานั้น ก็ไม่เข้าตรงตามเส้นทางที่พระผู้มีพระภาคชี้ไว้ให้เราเดิน เราก็เที่ยววิ่งวนอยู่ตลอดเวลา คล้ายกับมดที่มันวิ่งวนอยู่ตามขอบอ่างใส่นำ้ผึ้ง ไม่มีโอกาสจะได้ลิ้มรส เพราะเที่ยววนอยู่ตามขอบอ่าง ไม่ได้เข้าถึงอ่างซึ่งเต็มไปด้วยรสหวาน

คนเราบางคนก็มีสภาพเช่นนั้น……………….คือ………………
“เที่ยววิ่งวนอยู่ตามขอบ”
ไม่ได้เข้าถึงแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา
เลยไม่ได้รับสรของการปฏิบัติอย่างแท้จริง

ผู้ชี้ทางกับผู้มีหน้าที่เดินทาง

พระผู้มีพระภาคเจ้าท่านได้ตรัสไว้ชัดเจนในเรื่องนี้ บอกว่า ” ตถาคต เป็นแต่เพียงผู้บอกทางให้ ส่วนการเดินทางนั้นเป็นหน้าของเธอทั้งหลาย ”

พระองค์บ่งชัดไว้ในรูปอย่างนี้ บอกว่า

การเดินทางเป็นหน้าของเราเอง
พระองค์เป็นผู้ชี้ทางให้เดิน

เหมือนกับตำรวจจราจรที่ยืนอยู่ตามทางสี่แยก คอยโบกไม้โบกมือให้รถไปทางนั้น ทางนี้ ยืนชีอยู่ตรงนั้นรถมันก็ผ่านไป ตำรวจเป็นแต่เพียงผู้ชี้ทางให้รถไป แต่ว่าตำรวจไม่ได้ไป คนขับรถนั้นแหลละมีหน้าที่ต้องพารถไป ฉันใด

ในเรื่องชีวิตจิตใจของคนนี้ก็เหมือนกัน พระทุธเจ้าท่านชี้ทางไว้ให้เราเดิน ก็เป็นหน้าที่ของเราที่จะขับรถ คือร่างกายนี้ไป ใจนั่นแหละเป็นผู้ขับรถ

ร่างกายนี้เปรียบเหมือนกับรถได้เหมือนกัน มีล้อสี่ล้อ คือ เท่าสอง มือสอง แต่เราใช้เพียงสองล้า ไม่ได้ใช้สี่ เว้นไว้แต่คนขี้เมา บางครั้งก็ใช้สีล้อเหมือนกัน เราก็ต้องขับล้อนี้ไปตามเส้นทางที่พระผู้มีพระภาคชี้ไว้ให้เราเดิน เราก็จะไปถึงจุดหมายได้สมความตั้งใจ

ข้อปฏิบัติเพื่อนผู้มีความอันถูกต้อง

ในการปฏิบัติกาย วาจา ใจของเรานั้น ในเรื่องศีลเป็นการปฏิบัติขั้นต้น เราจะพอใจอยู่เพียงเท่านั้นไม่ได้ เพราะยังไม่ก้าวหน้า

เหมือนเด็เรียอยู่ชั้นประถม แล้ว ก็จะเรียนอยู่อย่างนั้นตลอดไป มันจะมีความเพิ่มเติมมากขึ้นได้อย่างไร เราต้องมีการสอบเลื่อนชั้น เลื่อนสูงขึ้นไปเรื่อยๆ ขึ้นไปโดยลำดับ

เช่น เรารักษาศีลห้า รักษาศีลแปดอยู่แล้ว เราก็ควรจะเลื่อนชั้นทางด้านจิตใจ คือ การทำการฝึกสมาธิ เพื่อทำใจให้มี ความมั่่นคง มีความสงบ แล้วมีความบริสุทธิ์ เหมาะที่จะใช้งานในการคิดนึกอะไรๆต่อไป อันเป็นก้าวสองที่เราจะเดินก้าวไป

ใจ….เป็นเรื่องสำคัญที่สุดในชีวิต

” ทำไมจะต้องมีการฝึกจิตด้วย “

เรื่องในชีวิตของคนเรานั้น เรื่องของใจเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ใจเป็นใหญ่ เป็นประธานในการกระทำและการพูด

ถ้าคิดชั่ว   การพูด  การกระทำ  ก็ชั่ว
ถ้าคิดดี     การพูด  การกระทำ  ก็ดี

แล้วก็เกิดผลประทับลงที่ใจของบุคคลนั้น

ถ้าคิดดี   ผลที่เกิดขึ้นก็เป็นรอยลงในทางดี
ถ้าคิดชั่ว  ผลที่เกิดขึ้นก็เป็นรอยลงในทางชั่ว

อะไรๆที่เกิดขึ้นในชีวิต มันติดอยู่ที่ใจของเราทั้งนั้น เป็นเรื่องหนีไม่พ้น

เพราะฉะนั้น คนเราจะทำอะไรล่ะ ก็จะต้องมีใจเป็นผู้นำก่อน มีใจเป็นหัวหน้า อะไรๆต่างๆก็สำเร็จมาจากใจของเราทั้งนั้น เรื่องของใจจึงงเป็นเรื่องำคัญของชีวิต

เหตุทำทำให้เกิดความวุ่นวายในชีวิตและสังคม

แต่ว่าคนเราส่วนมาก มักจะไม่สนใจในเรื่องภายในคือใจ สนใจในเรื่องภายนอกคือร่างกาย แสวงหาอะไรต่างๆให้ใจ อาหารกายรับประทานกันด้วยราคาแพง ส่วนอาหารใจไม่ต้องลงทุนซื้อหาแต่ว่าเราก็ไม่ค่อยมีโอกาสรับอาหารใจ

สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ใจนั้นลงทุนน้อย แต่สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่กายนั้นลงทุนมาก เรามักจะลงทุนกันเป็นการใหญ่เพื่อร่างกายไม่ค่อยจะคิดลงทุนเพื่อใจ

แม้เราจะสร้างวัตถุอะไรๆทางศาสนา ความจริงสิ่งที่เราสร้างนั้นเพื่อประโยชน์แก่การสร้างจิตใจ แต่ว่าสร้างแล้วก็ไม่ค่อยจะไปใช้กัน สร้างศาลาหลังใหญ่ ก็ไม่ไปใช้ สร้างโบสถ์แล้วก็ไม่ไปใช้ สร้างวัดแล้วก็ไม่ได้ใช้ แต่สนามม้าไม่ต้องสร้างก็ชอบไปใช้ โรงหนัง ไม่ต้องสร้างก็ไปใช้ อะไรอื่นที่มันทำให้เหลวไหลคนชอบไปใช้กันมาก แต่สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ทางจิตทางวิญญาณนั้น  คนใช้น้อย

เพราะ……………….
คนใช้สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่จิตแก่วิญญาณน้อนนี้แหละ
มันจึงได้เกิดปัญหา
และมีความวุ่นวายกันเต็มบ้านเต็มเมือง
สร้างความทุกข์สร้างความเดือดร้อนให้เกิดขึ้นบ่อยๆ

โดยเฉพาะในเมืองไทยเราสมัยนี้ จะพบว่ามีความวุ่นวายเกิดมากชึ้น นอนก็ไม่ค่อยจะเป้นสุข นั่งรถโดยสารไปไหนก็ไม่ค่อยจะเป็นสุข เพราะกลัวว่าคนมันจะมาตีกันในรถ กลัวเขาจะเอาก้อนหินขว้างมาถูกโดยไม่รู้เนื้อรู้ตัว สิ่งเหล่านี้มันเกิดจากอะไร มันก็เกิดขึ้นจากความบกพร่องทางจิตใจ

ความเจริญทางวัตถุกับอนาคตของมนุษย์

คนเราในสมัยนี้เป็นโรคจิตทรามกันมาก เพราะไม่ค่อยจะได้กินยา อาการของโรคมันจึงกำเริบเสิบสาน มีอาการที่เราเรียกว่าแทรกซ้อนมากมาย เป็นเกตุให้ทำอะไรแปลกๆมากขึ้นทุกวัน ทุกเวลา

ความเจริญก้าวหน้าในทางด้านวัตถุ
ที่มีมากขึ้นทุกวันเวลานั้น
คล้ายๆกับเป็นของแสลงแก่ใจคน
ทำให้คนติดใจ หลงไหล มัวเมา
เป็นการเพิ่มโรคทางวิญญาณมากขึ้น
ทุกวัน….และ….ทุกเวลา
อนาคตของชีวิตมนุษย์เรานี้
มันกำลังเดินไปตามเส้นทางที่ลาดชัน
แล้วจะตกลงไปในเหวลึกซึ่งมองไม่เห็นกัน
แล้วไม่สามารถจะขึ้นจากเหวนั้นได้
เราก็จะได้รับความทุกข์ความเดิอดร้อนตลอดไป

แต่ว่าไม่มีใครรู้ว่าสิ่งนั้นมันกำลังจะเกิดขึ้น เพราะว่าคนเราไม่คิดหาเหตุผลในเรื่องอันตนได้กระทำ ทำอะไรไปตามอารมณ์ ทำอะไรๆไปตามอำนาจของความอย่าก ทำอะไรๆไปตามอำนาจของความปรารถนา ไม่ได้คิดว่าเมื่อเราทำอย่างนี้อะไรจะเกิดขึ้นแก่เรา  อะไรจะเกิดขึ้นแก่ส่วนรวม อนาคตมันจะมีอะไรเกิดขึ้นเราไม่ได้พิจารณา

เมื่อไม่ได้พิจารณาในเรื่องอย่างนี้ เราก็ทำไปด้วยความหลงใหลเข้าใจผิดโดยไม่รู้สึกตัว คล้ายๆกับคนนั่งทำกรงขังตัว ในชั้นแรก  ก็ทำแต่เพียงกันของกรงนั้นสานขึ้นไปๆแล้วโดยที่สุด ตัวออกไม่ได้เพราะติดอยู่กรงขังตัวเอง

อันนี้เป็นฉันใด ในชีวิตของคนเราส่วนมากเป็นเช่นนั้นสร้างสิ่งที่เป็นเครื่องกั้นขวางจิตใจของคน ไม่ให้เจริญงอกงามในด้านธรรมะ ไม่ให้ก้าวไปเพื่อความรู้แจ้งเห็นจริง ไม่ให้ก้าวไปเพื่อความหลุดพ้นจากความทุกข์ความเดือดร้อนที่จะเกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เพราะว่าไปสร้างอะไรๆกักขังตัวเองเอาไว้ตลอดเวลา

สิ่งที่เราสร้างขึ้นมานั้นมันประกอบด้วยอะไร

ประกอบด้วย รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อันเป็นที่น่าปรารถนาน่าพึงอกพึงใจ แล้วประบขึ้นด้วยความอยากได้ อยากจะมี อยากจะเป็น ในสิ่งนั้น จนไม่รู้ว่า เรามีกันไปเพื่ออะไร เราเป็นกันไปเพื่ออะไร เราได้สิ่งนั้นมาแล้วเราจะเป็นอะไร หรืออะไรมันจะเกิดแก่เราต่อไป

เกิดมามีชีวิตอยู่ ต้องคิดเสียก่อนทำ

เราไม่ได้คิดอะไรให้ละเอียดในเรื่องอย่างนั้น จิตใจจึงไหลไปตามอำนาจของสิ่งแวดล้อม

ตัวอย่างที่เห็นได้ง่ายๆ เช่นว่า นักเรียนยกพวกตีกันไปตีกับใครๆ เราไม่ได้คิดว่าพวกเราไปทำถูกหรือทำผิด ไม่ได้คิดว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นมีอะไรเป็นมูลฐาน เราหรือเขาเป็นผู้เรื่องนั้นขึ้นมา แต่ว่าเพราะความรักพวกอย่างงมงาย รักโรงเรียรอย่างงมงาย

พอมีเรื่องอะไรเกิดขึ้น ก็ยกพวกเฮโลกันไปเลย แล้วก็ไปทุบไปตีกันหัวร้างข้างแตก ถูกจับไปโรงพักบ้าง ไปนอนอยู่โรงพยาบาลบ้าง เวลาไปถูกกักขังหรือไปเจ็บอยู่ที่โรงพยาบาลนั้นก็นึกได้ว่า สิ่งที่ทำไปนั้นมันไม่ดี แต่เมื่อนึกได้นั้น ตัวนอนเจ็บอยู่เสียแล้ว หรือไปอยู่ในกรงขังเสียแล้ว

การนึกได้อย่างนั้นไม่ช่วยให้เกิดอะไรขึ้นแก่คนนั้นเพราะว่าไปคิดได้ในภายหลัง

คนโบราณจึงสอนว่า ” กันไว้ดีกว่าแก้ ”
จึงควรคิดเสียก่อนที่จะไปทำ

เช่น มีใครคนหนึ่งมาบอกว่าพวกเราถูกตี ก็ควรจะได้สอบถามกันให้ละเอียดว่า ถูกตีเพราะอะไร เราไปตีเขาก่อนหรือว่าเขามาตีเราก่อน ถ้าได้ศึกษาให้ละเอียดอย่างนั้น ก็จะเกิดความขึ้นในใจ แล้วไม่ทำอะไรด้วยอารมณ์หุนหันพลันแล่น

ใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำ  ดีกว่า

คนส่วนมากมันขาดที่ตรงนี้ คือขาดการใครครวญพิจารณาหาเหตุผลในเรื่องอะไรๆ

พระจึงสอนไว้ว่า นสมฺม กรณํ เสยฺโย
ใครครวญก่อนแล้วจึงทำ  ดีกว่า

การทำอะไรด้วยความหุนหันพลันแล่นนั้น มักจะเสียหาย ขับรถผลุนผลัน ก็ชนกันแหลกไปเลย เดินผลุนผลันก็ลมลงไปก็ได้ กินิะไรอย่างผลุนผลัน ถ้างมันก็ติดคอได้

เรื่องผลุนผลันไม่ดีทั้งนั้น ควรทำอะไรด้วยการพินิจพิจารณาให้ดี ฉะนั้นท่านจึงสอนให้ฝึกการควบคุมตัวเรา จะเดินให้รู้ จะนั่งก็ให้รู้ จะลุกขึ้นก็ให้รู้ จะเหยียดแขนเหยียดมือ หันหน้าไปซ้าย ไปขวา ก้าวไปหรือถอยกลับท่านบอกให้คอยกำหนดทั้งนั้น

การกำหนดเช่นนั้นเป็นการกระที่ไม่พลาด เพราะทำอะไรด้วยการควบคุมอยู่ตลอดเวลา อะไรๆที่มีการควบคุมนั้น มักจะไม่เสีย แต่ถ้าขาดการควบคุมเมื่อใดแล้ว ก็เกิดเรื่องเมื่อนั้น

ควบคุมตนได้ เหนื่อยชั้นต้น สบายปลายมือ

คนเรานั้นทำไมจึงไม่ค่อยจะได้ควบคุมตัวเอง การคุมตัวเองมันหนัก เหนื่อยในชั้นต้น ความสบายปลายมือ แต่ว่าคนเราขาดความอดทน จึงไม่สามารถจะควคุมตัวเองไว้ได้ เรามีแต่เรื่องการตามใจตัวเอง การปล่อยไปตามอารมณ์ ปล่อยไปตามอำนาจของสิ่งแวดล้อม แต่ไม่เคยกำหราบปราบปรามตัวเอง จึงยากแก่การที่จะควบคุมตัวเอง

ควบคุมจนเคยชินเป็นปกติก็จักเป็นศีล

แต่ถ้าหากเราคุมบ่อยๆ ประพฤติในเรื่องนี้บ่อยๆ ก็จะเกิดความเคยชิน พอชินต่อการหักห้ามใจแล้ว เราก็ไม่มีอะไรเดือดร้อน เราทำเป็นปกตินิสัย สิ่งใดที่ทำจนเป็นปกติ มันก็เป็นศีลสำหรับบุคคลนั้น เพราะว่า ศีลนั้นเขาแปลว่าปกติก็ได้ เช่น เราตื่นเช้าเป็นปกติ ก็เรียกว่า มีศีลของคนตื่นเช้า เราทำอะไรๆเป็นปกติ ก็เรียกว่ามีศีลในรูปนั้น เราก็สบาย

.

จากหนังสือแสดงธรรมะของหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ

 .

#เสียงเทศน์กิเลสผงะ

อะไรดีบอกต่อ

กดLIKE & SHARE — TAG เพื่อน +++++++

ธรรมะทานชนะการให้ทั้งปวง

ใส่ความเห็น